ศาสนสถานและศาสนวัตถุ

(Religious places and artifacts of Wat Phayaphu)

          ศาสนสถานและศาสนวัตถุของวัดพญาภู พระอารามหลวงนั้น มีหลายสิ่งหลายประการซึ่งเหล่านั้นล้วนเกิดจากพลังศรัทธาของพุทธศาสนิกชนที่มีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาโดยมีเจ้าเมืองน่านทุกๆ พระองค์ เป็นผู้นำศรัทธาพร้อมทั้งสาธุชนทั้งหลายร่วมกันสร้างขึ้นทำให้เกิดเป็นศิลปวัฒนธรรมที่สืบมาถึงลูกหลานได้รับทราบกัน ศิลปะเหล่านั้นล้วนตั้งบนฐานแห่งความเก่าแก่และประวัติอันสมควรศึกษา โดยศาสนสถานและศาสนวัตถุของวัดพญาภู นั้น มีดังนี้ 

พระวิหารวัดพญาภู

สร้างเมื่อ พ.ศ. ๑๙๕๖

เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธนันทมหามุนี 

พระพุทธนันทมหามุนี 

พระพุทธปฏิมา พระประธาน  ปางมารวิชัย  สมัยเชียงแสน  ขนาดหน้าตักกว้าง    ๑๑ ศอก ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารวัดพญาภู  สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๕๐ เป็นพระพุทธปฏิมา พระประธาน ที่ใหญ่ที่สุดในจังหวัดน่าน และนับเป็นพระพุทธปฏิมาคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดน่านมาช้านาน 

พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี



       พระพุทธรูปปางลีลา ศิลปะแบบสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ตั้งอยู่ด้านหน้า ขวาและซ้ายพระพุทธปฏิมา พระประธาน  ซึ่งมีจารึกอักษรสมัยสุโขทัย เขียนไว้ที่ฐานพระพุทธรูป มีข้อความว่า “สมเด็จเจ้าพระยาลารผาสุม เสวยราชในนันทบุรี  สถาปนาสมเด็จพระเป็นเจ้าห้าองค์ เพราะจักให้คงในศาสนาห้าพันปีนี้  ตั้งเป็นพระยาในปีมะเมีย เพื่อบุญ (?) จุลศักราช ๗๘๘ มหาศักราช (พุทธศักราช) ๑๙๗๐  เดือน ๖ วันพุธ ๗ ยาม  ปรารถนาเห็นพระศรีอริยไมตรีเจ้า”[1]

            [1]ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี. ค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560 จาก http://www.sac.or.th

พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี




            พระพุทธรูปปางลีลา ศิลปะแบบสุโขทัย ประดิษฐานอยู่ในพระวิหาร ตั้งอยู่ด้านหน้า ขวาและซ้ายพระพุทธปฏิมา พระประธาน  ซึ่งมีจารึกอักษรสมัยสุโขทัย เขียนไว้ที่ฐานพระพุทธรูป มีข้อความว่า “สมเด็จเจ้าพระยาลารผาสุม เสวยราชในนันทบุรี  สถาปนาสมเด็จพระเป็นเจ้าห้าองค์ เพราะจักให้คงในศาสนาห้าพันปีนี้  ตั้งเป็นพระยาในปีมะเมีย เพื่อบุญ (?) จุลศักราช ๗๘๘ มหาศักราช (พุทธศักราช) ๑๙๗๐  เดือน ๖ วันพุธ ๗ ยาม  ปรารถนาเห็นพระศรีอริยไมตรีเจ้า”[1]

            [1]ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี. ค้นเมื่อวันที่ 10 มกราคม 2560 จาก http://www.sac.or.th

พระอุโบสถวัดพญาภู

            ศิลปะล้านนา ก่อด้วยอิฐถือปูน สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๙  โดยพ่อพก่าคำปุกและแม่ศรีคำ เป็นผู้อุปถัมภ์ในการก่อสร้าง ภายในมีพระพุทธปฏิมาประธานปางมารวิชัย ศิลปะแบบพม่าประดิษฐานอยู่ 

บุษบก (ธรรมาสน์เอก) 

บุษบก หรือ ธรรมาสน์เอก เป็นศิลปะทรงล้านนาโบราณ ลงลักปิดทอง อายุร่วม ๒๐๐ ปี

บานประตูใหญ่ ในพระวิหาร

       บานประตูใหญ่หรือประตูเอกของพระวิหารวัดพญาภู เป็นไม้แกะสลักแบบลายเถา ๒ บาน  แกะโดยพระยาสรรพช่าง สร้างในสมัยเจ้าฟ้าอัตถวรปัญโญ  อายุร่วม  ๒๐๐ ปี

พระธาตุเจ้าพญาภู 

       พระธาตุเจ้าพญาภู อายุ ๖๐๔ ปี เป็นพระธาตุศิลปะทรงล้านนา ขนาดกว้าง  ๑๔  เมตร  สูง  ๒๕  เมตร  สร้างในสมัยพญาภูเข็ง (พญาภู) แห่งราชวงศ์ภูคา ในปี พ.ศ. ๑๙๕๖ และได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ ครั้งสำคัญในสมัยพระเจ้าอนันตวรฤทธิเดช  เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๐๐


ซุ้มประตูโขง 

ซุ้มประตูโขง เป็นศิลปะล้านนาร่วมสมัย  สร้างระหว่าง พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๓๘